423 ถ.สุขุมวิท77 ซ.อ่อนนุช39 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

02-311-6677

บริการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร

การสำรวจ และตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร และบ้าน เพื่อซ่อมแซม หรือแก้ไขปัญหาโครงสร้างที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลาม โดยจะทำการตรวจสอบด้วยวิธีหลักๆ 3 วิธีคือ

ตรวจสอบ

สภาพภายนอกอาคาร

เป็นการตรวจสอบสภาพภายนอก ทางกายภาพที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ตรวจวัดความกว้าง ความยาว ตำแหน่ง ขนาดหน้าตัดโครงสร้างของอาคาร รอยแตกร้าวที่มองเห็น จากสภาพการใช้งาน

เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงระยะยาว โดยใช้ Crack Meter เป็นเครื่องมือในการทดสอบ และติดตั้ง Reading Scale ที่เสาแต่ละต้นเพื่อดูพฤติกรรมการทรุดตัวของอาคาร

สำรวจ และ

วิเคราะห์ข้อมูลชั้นดิน

สำรวจเบื้องต้นโดยทำการเจาะดิน หรือขุดเล็กน้อย ให้ทราบชนิด และการเรียงตัวของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดิน

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ตระเตรียมเครื่องมือได้ดีขึ้น และทำข้อมูลความแข็งแรงของดิน รวมถึงข้อมูลที่ใช้คำนวณ หาการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้าง

ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง

เพื่อหาความสามารถกำลัง และคุณสมบัติของวัสดุโครงสร้าง

ซึ่งจะใช้เครื่องมือในการทดสอบหลายชนิด เพื่อทดสอบส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วย

– ตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย ด้วยวิธีวัดขนาดแรงสะท้อน โดยใช้ Schmidt Hammer Test เพื่อประเมินค่ากำลังอัดสูงสุด

– ตรวจสอบกำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต ด้วยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test ซึ่งจะส่งคลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในคอนกรีตที่ใช้ทดสอบ แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณ หาความเร็วคลื่น เพื่อแปรผลเป็นค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต

– ตรวจสอบความเป็นกรด และด่างของผิวคอนกรีตด้วยสารละลาย phenolphthalein เจือจางพ่นลงบนผิวคอนกรีต เพื่อดูค่า pH หรือเก็บผงคอนกรีตที่มีระ ยะลึกต่างกันมาทดสอบ

– ตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ของคอนกรีต เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการผุกร่อน หรือเหล็กเสริมเป็นสนิม โดยจะนำผงคอนกรีตที่ระดับความลึกต่างๆ มาทดสอบเพื่อหาแนวโน้มการแทรกซึมของคลอไรด์

– ตรวจสอบตำแหน่ง และขนาดของเหล็กเสริม ด้วย Cover meter เพื่อหาตำแหน่ง และระบุขนาดของเหล็กเสริมในโครงสร้าง เช่น พื้น กำแพง หรือเสา และคาน ขนาดเล็กที่มีการเสริมเหล็กไม่หนาแน่น

– ตรวจสอบกำลังของเหล็กเสริม เพื่อประเมินค่าความแข็งของผิวเหล็กเสริม ด้วย Hardness Test

– เจาะเก็บแท่งตัวอย่างคอนกรีตที่โครงสร้างคาน และเสา ด้วยเครื่องเจาะ แล้วนำไปทดสอบหาค่ากำลังอัดสูงสุด ด้วยเครื่องทดสอบกำลังอัด

– ทดสอบกำลังดึงของเหล็กเสริม โดยจะสุ่มตัดแท่งตัวอย่างเหล็กเสริมไปทดสอบหาค่ากำลังในการรับแรงดึง เป็นการทดสอบแบบทำลาย ซึ่งไม่เหมาะกับการทำในจำนวนเยอะเพราะอาจทำให้อาคารเสียหาย

– ทดสอบการรับน้ำหนักของตัวอาคาร เพื่อหากำลังในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง โดยจะค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง และวัดค่าการเสียรูปของโครงสร้าง

– ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยการวางน้ำหนักลงบนหัวเสาเข็ม แล้วตรวจวัดค่าการ ทรุดตัว โดยใช้เสาเข็มไมโครไพล์เป็นหลักรั้งไว้

– ตรวจสอบความยาว และความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ด้วย Side Echo Test โดยจะส่งคลื่นความสั่นสะเทือน จากเครื่องกำหนดความถี่ลงในเนื้อคอนกรีตของเสาเข็ม ซึ่งคลื่นจะสะท้อนกลับขึ้นมาที่ผิวคอนกรีต ทำให้สามารถตรวจสอบความต่อเนื่อง หรือความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับเสาเข็มได้ และยังประมาณความลึกของเสาได้อีกด้วย

โทรปรึกษาวิศวกร ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
086-338-9933

line tansomboon